วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดบทที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1
1. จงเปรียบเทียบข้อแตกต่างของ ข้อมูลและ สารสนเทศมาพอเข้าใจ
                ข้อมูล คือ คำพรรณนาถึงสิ่งของ เหตุการณ์ กิจกรรม และธุรกรรม ซึ่งถูกบันทึก จำแนกและจัดเก็บไว้ในแหล่งเก็บข้อมูล แต่ยังไม่มีการจัดโครงสร้างเพื่อถ่ายโอนไปยังสถานที่เฉพาะเจาะจง โดยข้อมูลอาจอยู่ในรูปของตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ ส่วนสารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ถูกจัดโครงสร้างให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและมีมูลค่าต่อผู้รับ โดยมีการนำข้อมูลผ่านกระบวนการการประมวลผล และจัดให้อยู่ในรูปแบบที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน อีกทั้งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจได้  เช่น ผลการเรียนเฉลี่ย (GPA)
2. การจัดแบ่งหน้าที่งานทางธุรกิจมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างองค์กรอย่างไร
                หน้าที่งานทางธุรกิจหรือฟังก์ชันทางธุรกิจ มักใช้เพื่อแบ่งองค์การเข้าสู่เขตพื้นที่รับผิดชอบภายใต้ภาระงาน มักกำหนดเขตพื้นที่ของแต่ละหน้าที่งาน ตามการไหลของทรัพยากรจากหน้าที่หนึ่งไปสู่อีกหน้าที่หนึ่ง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างขององค์การ แสดงให้เห็นถึงอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรในองค์การ  มีส่วนช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ เข้าใจการจำแนกความแตกต่างของภาระงาน อำนาจหน้าที่
3. การลงทุนเพื่อจัดตั้งธุรกิจใหม่ จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนอย่างไร
                เริ่มจากเป็นเจ้าของกิจการคนเดียว เมื่อธุรกิจเติบโตก็จะมีการร่วมลงทุนกันกลายเป็นห้างหุ้นส่วน บริษัท จากนั้นก็จะเงินมาลงทุนร่วมกัน เพื่อจัดตั้งหน่วยธุรกิจขึ้นตามวัตถุประสงค์และรูปแบบการลงทุนของธุรกิจ หากเงินทุนไม่เพียงพอก็อาจจะกู้ยืมเงินจากแหล่งกู้ยืมภายนอกกิจการ ในส่วนการดำเนินงานเป็นการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นของธุรกิจ โดยหมายถึง
                กิจกรรมที่ 1 การจัดหาวัตถุดิบ สินค้า หรือทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ
                กิจกรรมที่ 2 การใช้ทรัพยากร เพื่อผลิตสินค้าหรือบริการนั้น ๆ
                กิจกรรมที่ 3 การขาย ตลอดจนการจัดจำหน่ายสินค้าหรือบริการต่อลูกค้า
4. จงเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้ข้อมูลของระดับปฏิบัติการและระดับบริหาร
                การใช้ข้อมูลของธุรกิจภายใต้ระบบปฏิบัติการ เปรียบเสมือนกระจกเงาที่คอยสอดส่องดูแลงานด้านต่าง ๆ เช่น การประมวลผล การบันทึก การรายงานเหตุการณ์ทางธุรกิจ โดยมีการใช้สารสนเทศช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงาน ส่วนข้อมูลระดับบริหาร เป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนกิจกรรมด้านการจัดการ ตลอดจนการตัดสินใจของธุรกิจ โดยจำแนกวิธีการที่ผู้จัดการหรือผู้บริหารนิยมใช้ประโยชน์จากสารสนเทศได้ 2 วิธี คือ วิธีที่ 1 ใช้ติดตามการปฏิบัติงานในปัจจุบัน และวิธีที่ 2 ใช้สร้างความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท
5. ผู้บริหารของบริษัทได้รับทราบงบการเงิน ในช่วงเวลาที่ต้องตัดสินใจ แต่ข้อมูลในงบการเงินนั้นมีข้อผิดพลาดเล็กน้อย จะมีผลต่อมูลค่าของสารสนเทศที่ผู้บริหารได้รับอย่างไร
                จะมีผลให้เกิดมูลค่าของสารสนเทศที่วัดได้ในระดับต่ำ เช่น เกิดความไม่แน่นอนในการตัดสินใจทางเลือกของผู้บริหาร ไม่สามารถชี้ให้เห็นสถานการณ์ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากฝ่ายบริหาร
6. กรณีที่ผู้บริหารในระดับควบคุมปฏิบัติการ ได้รับสารสนเทศที่มีรายละเอียดไม่พอต่อการตัดสินใจอาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไร
                จะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ตรงกันข้ามกับความต้องการ ซึ่งอาจประกอบไปด้วย บุคคล อุปกรณ์ องค์การ นโยบาย และกระบวนงานได้
7. การสั่งการของผู้บริหารระดับสูง ในเรื่องนโยบายเงินปันผลต่อผู้บริหารระดับกลางให้ควบคุมการจ่ายเงินปันผลให้แก่พนักงานทุกคน ถือเป็นสายงานสารสนเทศในลักษณะใด
                ถือเป็นสายงานด้านสารสนเทศในแนวดิ่ง เป็นการงบประมาณและสั่งการ ถือเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่จะทำการวางแผนด้านงบประมาณและออกคำสั่งปฏิบัติการในเรื่องต่าง ๆ
8. จงยกตัวอย่างโครงสร้างกระบวนการทางธุรกิจของบริษัทบริการโทรศัพท์มือถือ
                1. กระบวนการปฏิบัติการ เช่น ด้านการผลิต มีการผลิตชิ้นส่วนมือถือหรืออะไหล่ในแบรนด์ของตนเอง การตลาดและการขาย เพื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบสื่อโฆษณาต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ ใบปลิว การจัดงาน Event และการคลังสินค้า มีการจัดเก็บสินค้าสำรองไว้ เมื่อสินค้าขาดตลาด
                2. กระบวนการจัดการ เป็นการวางแผนและควบคุมการปฏิบัติงานภายในองค์การ คือ การวางแผนซึ่งผู้บริหารอาจจะเป็นคนวางแผนเอง การควบคุม ทำให้การปฏิบัติงานออกมามีประสิทธิภาพและช่วยในการตัดสินใจ
                3. กระบวนการสารสนเทศ เพื่อรวบรวมจัดเก็บและจัดการข้อมูล และนำเสนอให้แก่ผู้ใช้สารสนเทศ เช่น หากนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหารได้
9. องค์การดิจิทัลมีความแตกต่างกับองค์การธุรกิจทั่วไปอย่างไร
                องค์การดิจิทัลเป็นองค์การที่มีการทำงานในหลากหลายมิติ โดยอาศัยด้านดิจิทัลและสื่อดิจิทัลจัดการข้อมูลความสัมพันธ์ทางธุรกิจ โดยเฉพาะส่วนที่ติดต่อกับลูกค้า ผู้จัดหา รวมทั้งลูกจ้างขององค์การ ส่วนองค์การธุรกิจทั่วไป เป็นองค์การที่ไม่ได้ใช้สื่อดิจิทัลในการจัดเก็บข้อมูลความสัมพันธ์ทางธุรกิจ ผลเสียที่ได้ คือ การตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมและการรับรู้ช้ากว่าองค์การดิจิทัล
10. องค์การควรดำเนินการอย่างไร เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขันทางธุรกิจ
                ควรมีการปรับโครงสร้างด้วยการใช้รูปแบบขององค์การดิจิทัล โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้สนับสนุนการดำเนินงานทางธุรกิจ และมีการพัฒนากลยุทธ์ของบริษัทซึ่งช่วยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดและกำไรทางธุรกิจได้ รวมทั้งด้านการผลิตตามคำสั่งและผลิตแบบสั่งทำในปริมาณมาก เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วและถูกต้อง รวมทั้งลดต้นทุน

ที่มา : รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์. สารสนเทศทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2549.

 
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2
1. จากส่วนประกอบทั้ง 7 ส่วนของระบบสารสนเทศ ส่วนใดที่ถือเป็นแหล่งจัดเก็บข้อมูลของระบบสารสนเทศ
                - ส่วนการจัดการฐานข้อมูล ซึ่งเป็นหน่วยเก็บข้อมูลทางกายภาพสำหรับข้อมูลที่อาจมีความเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการเงิน จะถูกจัดเก็บภายในตู้เอกสารหรือในแผ่นจานแม่เหล็ก เรียงลำดับจากหน่วยที่เล็กที่สุด คือ ลักษณะประจำ ระเบียน และแฟ้มข้อมูล
2. ในส่วนผลป้อนกลับของระบบสารสนเทศ ก่อให้เกิดประโยชน์ในอนาคตของการจัดการระบบสารสนเทศอย่างไร
                - ผลป้อนกลับจะอยู่รูปของรายงานที่เป็นผลลัพธ์ ซึ่งจะถูกส่งกลับไปยังระบบของต้นทางข้อมูลทั้งภายในและภายนอก ช่วยปรับเปลี่ยนกระบวนการ เช่น รายงานแสดงสถานะของสินค้าคงเหลือ เพื่อปรับยอดสินค้าคงเหลือ
3. หากท่านดำเนินธุรกิจร้านมินิมาร์ทแห่งหนึ่ง ท่านเลือกที่จะนำสารสนเทศประเภทใดบ้างมาใช้ในธุรกิจ เพราะเหตุใด
                - ใช้ระบบสารสนเทศตามหน้าที่งาน เพราะเป็นการรองรับการทำงานของแผนกต่าง ๆ จำแนกความรับผิดชอบหน้าที่งานในองค์กร ทำให้ผู้ปฏิบัติงานรู้ถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเอง อีกทั้งช่วยสนับสนุนในด้านการจัดการงานประจำที่ทำซ้ำ ๆ กัน เช่น การเตรียมจ่ายเงินเดือนพนักงาน หรือการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า เป็นต้น
4. ระบบสารสนเทศถูกวางไว้ที่ตำแหน่งใดภายใต้โซ่คุณค่าขององค์กร จงอธิบาย
                - ระบบสารสนเทศจะช่วยสร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการผ่านการดำเนินกิจกรรมย่อย เช่น การเสนอขายสินค้าและบริการที่แตกต่างจากคู่แข่ง เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับลูกค้า การเปิดธุรกิจบนเว็บไซต์ เพื่อเสนอขายสินค้าและบริการ ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้จากการขายอีกทางหนึ่ง
5. จงระบุถึงประโยชน์ที่องค์การจะได้รับภายใต้การใช้ระบบสารสนเทศที่ดี
                - ช่วยลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการทำงาน เช่น มีการตรวจสอบกำลังการผลิตของเครื่องจักร การตรวจสอบคุณภาพของสินค้า มีการพัฒนาการตัดสินใจที่ดีขึ้น สร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน เช่น การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและมีการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง


6. จงอธิบายแนวโน้มของระบบสารสนเทศในอนาคต
                - จะมีการมุ่งเน้นด้านการบูรณาการระบบสารสนเทศ โดยอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีเว็บ อีกทั้งมีการพัฒนาระบบสารสนเทศบนเว็บที่มีต้นทุนต่ำ และยังเพิ่มขีดความสามารถของระบบเดิม ซึ่งใช้ในส่วนของการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศภายในองค์การและระหว่างองค์การ เพื่อบรรลุเป้าหมายการแพร่กระจายสารสนเทศไปทั่วโลก
7. ระบบสารสนเทศประเทศใด ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือ ในการเชื่อมโยงโซ่คุณค่าขององค์การเข้ากับโซ่คุณค่าขององค์การภายนอก
                - ระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศระหว่าง 2 องค์การขึ้นไป เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของการประมวลผลธุรกรรม ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างองค์การ
8. จงอธิบายการเชื่อมโยงต่อระบบสารสนเทศระหว่างองค์การกับอีคอมเมิร์ช
                - ยกตัวอย่างเช่น การซื้อเครื่องใช้สำนักงานภายใต้ระบบมือกับระบบอีคอมเมิร์ช ซึ่งภายใต้การสั่งซื้อระบบมือ เจ้าหน้าที่จะต้องได้รับอนุมัติสำหรับการซื้อที่มีกำไร โดยจัดส่งใบขอซื้อไปยังแผนกจัดซื้อ หลังจากนั้นออกใบสั่งซื้ออย่างเป็นทางการ เมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการสั่งซื้อทางอีคอมเมิร์ชผู้สั่งซื้อจะตรงไปที่เว็บไซต์ของผู้ขาย และสั่งซื้อสินค้าตามที่ต้องการ ณ ระดับราคาที่กำหนดไว้
9. จงอธิบายการทำงานของคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่และลูกจ้างเคลื่อนที่
                - คอมพิวเตอร์ คือ ตัวอย่างระบบคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบสำหรับลูกจ้างเคลื่อนที่ ซึ่งผู้ใช้มักเกิดความต้องการด้านการเชื่อมต่อเข้ากับระบบสารสนเทศขององค์การ โดยใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่
10. จงยกตัวอย่างระบบสารสนเทศบนเว็บที่มีการเชื่อมต่อกับระบบสารสนเทศอื่นมา 2 ตัวอย่าง
                - 1.อินเทอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาใช้ทั่วโลก ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ๆ สามารถรับสารสนเทศจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ ซึ่งถือเป็นเครือข่ายสาธารณะ
                2. เอกซ์ทราเน็ต ถูกเชื่อมต่อกับอินทราเน็ตผ่านทางอินเตอร์เน็ต สร้างรูปแบบเครือข่ายเสมือนจริงซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้ทางไกล สามารถเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตกับเอกซ์ทราเน็ตหลักขององค์กร มุ่งเน้นการใช้สารสนเทศร่วมกัน
อ้างอิง : รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์. สารสนเทศทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2549.

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3
1. วัตถุประสงค์ของการวางแผนระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ คืออะไร
                - เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน และนำมาใช้สนับสนุนการดำเนินงานในเชิงรุก
2. จงอธิบายแนวโน้มของการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
                แนวโน้มในด้านบวก
1. การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์
2. การพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษา พูดได้ อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง
3. การพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้
4. การศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา (tele-education) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน (virtual library)
5. การพัฒนาเครือข่ายโทร คมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ
6. การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน หรือ e-citizen
                                แนวโน้มในด้านลบ
1. ความผิดพลาดในการทำงานของระบบ คอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา
2. การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา การทำสำเนาและลอกเลียนแบบ
3. การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์ 
3. จงยกตัวอย่างการใช้แผนกลยุทธ์ด้านสารสนเทศของอีคอมเมิร์ช
                - เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพพนักงานขาย การใช้อีคอมเมิร์ซแบบนี้ช่วยปรับปรุงการสื่อสารระหว่าง
4. หน่วยงานของรัฐบาลมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในลักษณะใด
                - รัฐบาลปัจจุบันได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการพัฒนา  และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มาใช้ในภาครัฐ (e-Government)  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานภาครัฐที่ให้บริการประชาชน  และภาคธุรกิจ   จะต้องเร่งดำเนินการพัฒนานำ ICT   มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการเป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ทันสมัยและโปร่งใส เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสารสนเทศและการบริการภาครัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ขณะเดียวกันสามารถนำ ICT มาใช้ เพื่อทำการปฏิรูประบบบริหารองค์กรของรัฐให้ได้เป้าประสงค์ของการบริการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  
5. จงระบุถึงผลประโยชน์ที่องค์กรควรจะได้รับ อันสืบเนื่องมาจากการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจ
                - ผลของการใช้เทคโนโลยีได้ทำให้เกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆ อันมีประโยชน์ต่อมนุษย์มากมาย เช่น อุปกรณ์สำหรับใช้ในการตรวจและรักษาโรค โทรเลข โทรศัพท์ อุปกรณ์การสื่อสารต่าง ๆ การค้นพบคอมพิวเตอร์และการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยในการปฏิบัติงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ทางด้านการแพทย์ การสำรวจ การประมง การควบคุมอากาศยานและยานพาหนะ การใช้คอมพิวเตอร์ ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในสถานประกอบการอุตสาหกรรมและการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information system) การพัฒนาระบบการชลประทานและการส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก การผลิตปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพ การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การทำประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการผลิตและการถนอมอาหาร และการใช้เทคโนโลยีในการผลิตเสื้อผ้าและเครื่องนุ่มห่ม
6. การจัดซื้อซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ขององค์การขนาดเล็กจะต้องพิจารณาสิ่งใดบ้าง
                - องค์กรต่างๆ ที่จัดซื้อจัดหาซอฟต์แวร์ ลำดับแรกต้องระบุวัตถุประสงค์ และความต้องการให้ชัดเจนว่าต้องการอะไรจากซอฟต์แวร์นั้นๆ แล้วปล่อยให้ผู้ขายไม่ว่าจะเป็นโอเพนซอร์ซ หรือซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์เสนอราคาเข้ามา การจะเลือกซื้อซอฟต์แวร์ใดนั้นควรเลือกจากคุณสมบัติ, ความสามารถในการทำงาน, การทำงานร่วมกับระบบที่มีอยู่,ความปลอดภัย, ความคุ้มค่า รวมทั้งราคาในการเป็นเจ้าของ
7. ข้อได้เปรียบของการใช้บริการภายนอก เพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นใช้ในองค์การ คืออะไร
                - องค์กรนั้น ๆ ลดภาระในการดูแลทรัพย์สินของระบบสารสนเทศ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง อุปกรณ์ของระบบเครือข่ายสื่อสาร เป็นต้น ซึ่งจะทำให้สามารถที่จะคำนวณถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
                • องค์กรสามารถลดภาระในการวางแผนทางด้านเทคโนโลยีโดยจะวางแผนเฉพาะด้านนโยบายและการบริการใหม่ ๆ ที่ต้องการนำมาเป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันในตลาดเท่านั้นไม่จำเป็นต้องนำประเด็นของการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีมาเป็นประเด็นสำคัญในการพิจารณา
                • ช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันขององค์กรให้มากขึ้น เนื่องจากการดำเนินการต่าง ๆ จะเกิดความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพสูงในการตอบสนองการให้บริการใหม่ ๆ กับลูกค้า ซึ่งการลงทุนเองจะไม่สามารถตอบสนองต่อความยืดหยุ่นของดีมานด์ของตลาดได้ทันท่วงที
                • ช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันขององค์กรให้มากขึ้น เนื่องจากการดำเนินการต่าง ๆ จะเกิดความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพสูงในการตอบสนองการให้บริการใหม่ ๆ กับลูกค้า ซึ่งการลงทุนเองจะไม่สามารถตอบสนองต่อความยืดหยุ่นของดีมานด์ของตลาดได้ทันท่วงที
                • องค์กรที่มีปัญหาทางด้านการควบคุมค่าใช้จ่ายของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อาจเปลี่ยนแปลงมาใช้การ Outsource เพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย อีกทั้งสัญญาการ Outsource ที่ดีจะทำให้ผู้ว่าจ้างมีความยืดหยุ่นในการขยายประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์เพื่อรองรับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นได้ โดยมีค่าใช้จ่ายตามที่ตกลงกัน
                • สามารถลดภาระในการพัฒนาบุคลากรขององค์กรให้อยู่มีความรู้ความชำนาญด้านเทคโนโลยีในการบริหารระบบสารสนเทศ กล่าวคือสามารถลดปัญหาพื้นฐานความรู้ของพนักงานที่ไม่เข้าใจ หรือไม่สามารถติดตามเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ทัน หรือพนักงานอาจมีภาระงานมากจนทำให้ไม่สามารถติดตามเทคโนโลยีได้ทัน
                • ความต้องการให้พนักงานของตนไปทำงานอื่นที่มีประโยชน์ต่อองค์กรมากกว่าทำการดูแลบำรุงรักษาระบบสารสนเทศ
                • ไม่สามารถว่าจ้างบุคลากรที่มีทักษะบางด้านเข้ามาทำงานได้ เนื่องจากเงื่อนไขการจ้างไม่ดึงดูดใจบุคลากรเหล่านั้น หรือไม่สามารถที่จะดึงดูดใจให้บุคลากรเหล่านั้นทำงานอยู่กับองค์กรได้ในระยะยาว การ Outsource จะทำให้ไม่จำเป็นต้องเพิ่มบุคลากรในองค์กรเพิ่มขึ้นทำให้องค์กรมีขนาดที่เหมาะสมและสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                • การจัดจ้างนี้ มีสัญญาการจ้างระยะเวลาที่จะสิ้นสุด ดีกว่าการลงทุนเอง ซึ่งจะต้องเป็นการลงทุนในลักษณะถาวรต่อเนื่อง
                • สามารถกำหนดระดับของบริการ (Service Level) ได้ เช่นต้องการให้เสร็จสิ้นภายในเวลาเท่าใด ความผิดพลาดที่มีไม่ควรเกินอัตราหรือสัดส่วนเท่าใด การทำงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในทุกช่วงของเวลา เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความพึงพอใจกับการให้บริการของฝ่ายงานสารสนเทศต่อทั้งผู้ใช้ภายในและภายนอกองค์กร
8. วิธีการพัฒนาระบบรูปแบบใด ที่สอดคล้องกับวิธีการพัฒนาระบบจากบนลงล่าง
                - วัฎจักรการพัฒนาระบบ  (System development life cycle : SDLC) เป็นวิธีการแบบดั้งเดิมที่ใช้พัฒนาระบบงานทีละขั้นตอน (Step) จากระดับบนไหลลงสู่ระบบล่างคล้ายกับน้ำตกที่ตกลงมาเป็นชั้น ๆ  (Walterfall)  หากการทำงานในขั้นตอนใดไม่ดีพอเราสามารถย้อนกลับไปตรวจสอบขั้นตอนก่อนหน้านี้ได้  แต่ไม่สามารถทำงานหลาย ๆ  ขั้นตอนควบคู่กัน (parallel)
9. วิธีการพัฒนาระบบแบบใด ที่เน้นความร่วมมือของผู้ใช้ในการพัฒนาระบบมากที่สุด
                - เลือกใช้  Prototyping เพราะผู้ใช้และผู้จัดการจะมีส่วนร่วมในทุก ๆ ขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาระบบ   และการทำซ้ำ Prototyping   มีส่วนร่วมในการออกแบบ    ซึ่ง  Prototype  จะเป็นตัวกำหนดความต้องการข่าวสารของผู้ใช้ทางอ้อมไปในตัว  และ ระยะเวลาในการทำซ้ำ  Prototype  นั้นใช้เวลาสั้น  อีกทั้งการทำ prototype  ก็มักจะใช้ต้นทุนต่ำ
10. เพราะเหตุใดการใช้แบบจำลองน้ำตกจึงถือเป็นการพัฒนาระบบแบบดั้งเดิม
                - SDLC แบบ Waterfall มีหลักการเปรียบเสมือนกับน้ำตก ซึ้งไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ และไม่สามารถไหลกลับมาในทางตรงกันข้ามได้อีก การพัฒนาระบบงานด้วยหลักการนี้ เมื่อทำขั้นตอนหนึ่งแล้วจะไม่สามารถย้อนกลับมาที่ขั้นตอนก่อนหน้าได้อีก ซึ่งจะมองเห็นจุดอ่อนของหลักการนี้ว่า หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นที่ขั้นตอนก่อนหน้านี้แล้ว จะไม่สามารถย้อนกลับมาแก้ไขได้ ดังนั้น การพัฒนาระบบด้วยหลักการนี้ จำเป็นต้องมีการวางแผนที่ดี เพื่อให้สามารถป้องกันการผิดพลาดได้มากที่สุด ซึ่งทำได้ยากมาก ยกเว้นระบบงานนั้นมีรูปแบบการพัฒนาที่ดี และตายตัวอยู่แล้ว
11. เทคนิคแผนภาพกระแสข้อมูลมักใช้ในขั้นตอนใดของการพัฒนาระบบ และมีประโยชน์ต่อผู้ใช้และทีมงานพัฒนาระบบอย่างไร
- แผนภาพกระแสข้อมูล (DFD) เป็นเครื่องมือที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการเขียนแบบระบบใหม่ 
http://itd.htc.ac.th/st_it50/it5016/nidz/Web_Analyse/assets/images/clip_image007_0002.gif
โดยเฉพาะกับระบบที่ หน้าที่ของระบบมีความสำคัญและมีความสลับซับซ้อนมากกว่าข้อมูลที่ไหลเข้า
                ประโยชน์ในการใช้แผนภาพกระแสข้อมูล
1.  ใช้ได้อย่างอิสระในการวิเคราะห์ระบบโดยไม่ต้องมีเทคนิคอื่นมาช่วย สามารถใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ แทนสิ่งที่วิเคราะห์มา
2.  สื่อที่ง่ายต่อการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระบบย่อยกับระบบใหญ่
3.  ช่วยให้การวิเคราะห์เป็นไปได้โดยง่าย และมีความเข้าใจตรงกันระหว่าง ผู้วิเคราะห์ระบบเอง หรือระหว่างผู้วิเคราะห์กับโปรแกรมเมอร์ หรือระหว่างผู้วิเคราะห์กับผู้ใช้ระบบ
4.  จะเห็นถึงข้อมูล และขั้นตอนต่างๆ เป็นแผนภาพการไหลของข้อมูล (Data flow diagram)
12. จงเขียนแผนภาพกระแสงานของระบบทะเบียนนักศึกษา ในส่วนของการลงทะเบียนเรียน การเข้าชั้นเรียน ตลอดจนการวัดและประเมินผลการเรียน

นักศึกษาลงทะเบียน                                    นักศึกษาเข้าชั้นเรียน                   สอบวัดผลภาคเรียน                                  
                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                เส้นแบ่งเขตนักศึกษาและฝ่ายทะเบียน
 


อาจารย์รับใบลงทะเบียน             ฝ่ายทะเบียนบันทึก           ส่งข้อมูลรายชื่อ                    ข้อมูลของการเข้า                           ฝ่ายทะเบียน
และรับชำระเงิน                         ข้อมูลนักศึกษา                 ให้อาจารย์ประจำวิชา           ชั้นเรียนและผลการ
                                                                                                                                สอบวัดผล

อ้างอิง : รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์. สารสนเทศทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2549.



แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4
1. จงอธิบายความสัมพันธ์ของระบบประมวลผลธุรกรรม และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
                - ระบบประมวลผลธุรกรรมหรือ TPS คือ ชุดขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่น บุคลากร กระบวนการ ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลและอุปกรณ์ ซึ่งถูกรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อนำมาใช้บันทึกรายการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ส่วนระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นระบบที่ใช้สนับสนุนการทำงานของผู้จัดการระดับล่าง และระดับกลาง เพื่อการนำเสนอรายงาน ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเฉพาะ ข้อมูลในอดีต มุ่งเน้นตอบสนองความต้องการของบุคลากรในองค์การ มีการสร้างรายงานมาตรฐานจากการประมวลผลข้อมูลของระบบ TPS
2. จงยกตัวอย่าง องค์ประกอบด้านการพัฒนากลยุทธ์ ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
                - ระบบเอ็มไอเอส เป็นเครื่องมือช่วยสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน ซึ่งเริ่มต้นจากกระแสไหลเข้าของธุรกรรมด้วยวิธีการนำเข้าปกติ วิธีนำเข้าผ่านอินเทอร์เน็ตหรือเอกซ์ทราเน็ต สำหรับบางองค์กร อาจใช้ TPS ร่วมกับระบบวางแผนทรัพยากร และโกดังข้อมูล ผลลัพธ์ของเอ็มไอเอส จะถูกนำไปใช้เป็นข้อมูลนำเข้าของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบสนับสนุนผู้บริหาร และระบบสารสนเทศพิเศษ
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 9
1. จงอธิบายแนวทางการใช้งานระบบสารสนเทศทางการบัญชี มาพอเข้าใจ
                - เช่น สารสนเทศทางการบัญชีในส่วนของการบัญชีการเงิน คือ งบการเงินและรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำเสนอต่อผู้ใช้งบการเงินและกรม สรรพากร และในส่วนการบัญชีบริหาร คือ รายงานการวิเคราะห์ต้นทุนต่าง ๆ รายงานงบประมาณ รายงานการวิเคราะห์งบการเงิน ตลอดจนรายงานการวิเคราะห์การลงทุน นอกจากนี้ยังใช้เป็นหลักฐานทางการเงิน เช่น ใบกำกับภาษี ใบส่งสินค้า และใบจ่ายเงินเดือน
2. จงยกตัวอย่างผู้ใช้สารสนเทศทางการบัญชีภายนอกองค์การ มาสัก 2 ตัวอย่าง
                - ลูกค้า และธนาคาร
3. หากท่านดำเนินธุรกิจร้านมินิมาร์ทแห่งหนึ่ง ท่านเลือกที่จะติดตั้งใช้งานระบบสารสนเทศทางการบัญชีหรือไม่ อย่างไร
                - ติดตั้ง เพราะเป็นเครื่องมือหนึ่งของการเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจ และเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการดำเนินงานและตัดสินใจทางธุรกิจทั้งในส่วนของ การวางแผน และการควบคุมการดำเนินงานของธุรกิจ
4. หากธุรกิจแห่งหนึ่ง มีการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่ได้รับการประกันความถูกต้องของข้อมูล ท่านคิดว่าธุรกิจนั้นจะได้รับประโยชน์อย่างไร
                - 1. ช่วยให้กิจการทราบถึงผลกำไรขาดทุนที่แท้จริงขององค์การ
                  2. ช่วยให้ธุรกิจทราบฐานะทางการเงินของกิจการ
                  3. ช่วยเป็นเครื่องมือสนับสนุนการหาแหล่งเงินทุนของธุรกิจ
                  4. ช่วยเป็นเครื่องมือในการเสียภาษี
                  5. ช่วยในการวางแผนธุรกิจ
                  6. ช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
5. ท่านคิดว่าเอกสารทางการบัญชีของระบบประมวลผลด้วยมือ และแฟ้มข้อมูลของระบบประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
                - มี ความสัมพันธ์กันตรงที่เริ่มแรกเกิดการประมวลผลด้วยมือก่อน จากนั้นได้มีการพัฒนาเป็นระบบการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการประมวลผลที่เร็วกว่า
6. เพราะเหตุใด รายงานภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นส่วนหนึ่งของรายงานทางการเงิน
                - เพราะรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผลลัพธ์จากระบบสารสนเทศทางการเงิน พร้อมทั้งนำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มส่งให้กรมสรรพากร
7. จงอธิบายแนวโน้มของระบบสารสนเทศทางการบัญชีในอนาคต
                - เน้นการโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีร่วมกับโปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์การ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงข้อมูลภายใต้โซ่คุณค่าและโซ่อุปทาน เข้าด้วยกัน
8. หากธุรกิจมีการนำเสนองบการเงิน ซึ่งมีการเสนอข้อมูลด้านการวิเคราะห์อัตราส่วนเพิ่มเติมด้วย จะถือเป็นรายงานทางการเงินหรือรายงานทางการบริหาร
                - เป็นรายงานทางการบริหาร
9. การเชื่อมโยงข้อมูลภายในธุรกิจ จะได้รับข้อมูลจากระบบงานใดบ้าง
                ­- อย่าง แรกต้องมีการจัดเตรียมผังบัญชี ซึ่งเป็นผังที่แสดงการจัดหมวดหมู่บัญชีภายใต้การดำเนินงาน ลำดับต่อมา คือ การจัดเตรียมแฟ้มสมุดรายงานทั่วไปและแฟ้มงบประมาณ
10. เพราะเหตุใด ธุรกิจจึงจำเป็นต้องใช้โปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์กร ร่วมกับการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชี
                - เพื่อแก้ปัญหาระบบเดิม และยังได้รับซึ่งประโยชน์จากการใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อ้างอิง : รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์. สารสนเทศทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2549.
 
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 10
1. จงอธิบายแนวคิดของระบบวิสาหกิจ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศต่าง ๆ ขององค์การ
                - ด้านหน้าที่งานแนวไขว้ คือ หน้าที่งานหน้าที่หนึ่ง อาจอยู่ในความรับผิดชอบร่วมกันของสองหน่วยงาน เช่น หน้าที่งานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ อาจอยู่ในความรับผิดชอบร่วมกันของฝ่ายวิจัยและพัฒนาและฝ่ายการผลิต
2. ในส่วนมิติด้านความสามารถในการประกอบธุรกิจ มีความเกี่ยวข้องกับการบูรณาการทางธุรกิจอย่างไร
                - เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สำหรับกระบวนการทางธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง
3. ผู้จัดหาวัสดุเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานผลิตสินค้าจัดอยู่ในโครงสร้างใดของโซ่อุปทาน
                - โครงสร้างและระดับชั้นของผู้จัดหา
4. การขายหนังสือบนเว็บที่มีจัดส่งเนื้อหาในรูปแบบดิจิทัล ประกอบด้วยสายงานใดบ้างภายใต้โซ่อุปทาน
                - สายงานด้านสารสนเทศและสายงานด้านการเงิน
5. บุลวิป เอฟเฟก คือปัญหาเรื่องใดภายใต้โซ่อุปทาน จงอธิบาย
                - ด้านระยะเวลาการนส่งสินค้าและความไม่แน่นอนจากกการตั้งค่าระดับสินค้าคงเหลือของชิ้นส่วน
6. อาร์เอฟดีไอ คือ เทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนการจัดโซ่อุปทานอย่างไร
                - สนับสนุนในส่วนของผู้ค้าปลีก ตัวแทนจำหน่ายและผู้ผลิต โดยองค์การจะให้ผู้จัดหารายใหญ่แนบป้ายระบุความถี่วิทยุติดกับแท่นวางสินค้า หรือกล่องสินค้าในระหว่างที่ขนส่งสินค้ามายังองค์การ
7. จงยกตัวอย่างสื่อที่ใช้ภายใต้ระบบประยุกต์ด้านสัมผัสลูกค้า
                - การใช้อีคอมเมิร์ชช่วยในธุรกิจ
8. จงยกตัวอย่างบริการขั้นพื้นฐานของอี-ซีอาร์เอ็ม
                -เริ่มตั้งแต่การใช้โปรแกรมค้นดูเว็บอินเทอร์เน็ตหรือจุดสัมผัสอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมล
9. ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์การอย่างไร
                - เพราะ ระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์การ เป็นระบบที่ใช้ในการวางแผนทางด้านต่าง ๆ ดังนั้น ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้ จึงต้องการการวางแผนที่เป็นระบบเช่นกัน
10. การแพร่กระจายคามรู้ทั่วทั้งองค์การ จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใดบ้าง
                - ใช้ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้
อ้างอิง : รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์. สารสนเทศทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2549

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น